ไข้ คืออุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบ
ไข้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการติดเชื้อ และการติดเชื้อไม่จำเป็นต้องเกิดจากแบคทีเรีย
ดังนั้น ไข้ จึงไม่ใช่หลักฐานในการสั่งยาปฏิชีวนะ
นางทองดี อายุ 45 ปี มีไข้ ไอ นาน 1 เดือน ไปพบแพทย์สามครั้งได้ยาปฏิชีวนะมาทุกครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น ต่อมา X-ray พบว่าเป็นวัณโรคปอด ต้องให้ยาต้านวัณโรคกินไปนาน 6 เดือน
*ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่จะรักษาได้ทุกโรค
นายวรากร อายุ 17 ปี มีไข้ อ่อนเพลีย ซื้อยากินเองมา 6 วัน ในช่วง 3 วันหลังได้ยาปฏิชีวนะมากินแต่อาการไม่ดีขึ้น ต่อมาตรวจเลือดพบว่าเป็นไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ ต้องนอนรพ.ให้น้ำเกลือ
*การจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาให้ตรงกับโรค
นส.มารยาท อายุ 32 ปี เป็นผู้พิพากษา มีไข้ เจ็บคอ ซื้อยาปฏิชีวนะออกเมนตินมากิน 10 เม็ด กินไป 9 เม็ด ยังเจ็บคอและมีอาการท้องร่วง ถ่ายเหลวหลังกินยา ต่อมาพบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส รักษาไม่ได้ด้วยยาปฏิชีวนะ (เช่นเดียวกับที่โรคหวัด โรคโควิด รักษาไม่ได้ด้วยยาปฏิชีวนะ)
*กินยาปฏิชีวนะที่ไม่ตรงกับโรคเสียเงิน เสียสุขภาพ และสร้างเชื้อดื้อยาสะสมในร่างกาย
**ไข้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ**
>ประชาชนไม่ควรมีความเชื่อผิด ๆ ว่าเมื่อเป็นไข้ ไม่สบายต้องหายาปฏิชีวนะมากิน
>บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ควรรีบสั่งยาปฏิชีวนะเมื่อยังหาสาเหตุของไข้ไม่ได้ แต่ควรสั่งเมื่อมีหลักฐานบ่งถึงการติดแบคทีเรีย
#อย่าใช้ยาปฏิชีวนะเหมือนเป็นยาลดไข้
สยส. สร้างเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
21 พย. 2565
ร่วมรณรงค์ในวาระ สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะ
Share this: